วันอาทิตย์, 15 กันยายน 2567

10 กลยุทธ์ เพิ่มศักยภาพการสร้างแบรนด์ บน Social Media

09 พ.ย. 2023
829

สิ่งหนึ่งที่เป็น Key Factor สำคัญในการทำให้ธุรกิจ หรือแบรนด์ให้เติบโตได้อย่างดีคือเรื่องของการใช้ Social Media ในการบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของแบรนด์ และการทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงแบรนด์ได้มากที่สุด และหากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ คนขายของออนไลน์ นักการตลาด หรืออะไรก็ตามที่ต้องใช้กลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์ในสื่อโซเชียลมีเดีย แล้วล่ะก็ ต้องไม่พลาดกับบทความนี้เลยค่ะ เพราะบทความนี้ ได้รวบรวม 10 กลยุทธ์ที่จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจ เพิ่มยอดการเข้าถึง และเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียกลูกค้าให้แบรนด์ของคุณไว้แล้วค่ะ ตามมาดูพร้อมกันเลยค่ะ

ซึ่ง 10 วิธีนี้เป็นข้อแนะนำจากคุณ Angie Gensler ผู้เชี่ยวชาญและผู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำสื่อโซเชียล ที่เธอได้ลิสต์ทิปสำคัญ ๆ ไว้ให้อย่างเข้าใจง่ายแถมนำไปใช้ได้จริงอีกด้วยนะคะ


10 กลยุทธ์ เพิ่มศักยภาพการสร้างแบรนด์ บน Social Media

  1. พัฒนาเอกลักษณ์ของแบรนด์อย่างสม่ำเสมอ
  • ใช้ CI ให้เป็นไปในทางเดียวกัน
  • รักษา Mood & Tone ของแบรนด์ให้คงที่
    เอกลักษณ์ของแบรนด์ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่แบรนด์ควรจะให้ความสำคัญ เนื่องจากสิ่งนี้จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถแยกแบรนด์เรา ออกจากแบรนด์อื่นได้ แล้วยังทำให้ผู้บริโภคจดจำเราได้อีกด้วย ซึ่งศัพท์ทางการตลาดเรียกสิ่งนี้ว่า “Brand CI” ที่กำหนดไว้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาด และเพื่อสร้างการจดจำให้กับผู้บริโภค และยังช่วยดึงดูดผู้บริโภคที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์เข้ามา โดย CI นี้จะประกอบไปด้วย โลโก้ สี ฟอนต์ รวมไปถึงน้ำเสียง และในการสื่อสารกับผู้บริโภคที่ช่วยสร้างคาแรกเตอร์แบรนด์นั่นเองค่ะ
     

2. สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า 

  • สร้างการมีส่วนร่วมของลูกค้าผ่านข้อความหรือคอมเมนต์ 
  • ใส่ใจ UGC เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์
    การเสริมสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย หรือลูกค้าของคุณอย่างสม่ำเสมอ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยในการเติบโตของธุรกิจเช่นกันค่ะ เพราะการสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วม เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าตนเองถูกใส่ใจเป็นพิเศษ และเกิดความประทับใจจนอยากจะใช้แบรนด์นั้นต่อไป โดยวิธีการที่แบรนด์สามารถทำได้ง่าย ๆ อย่างเช่น 
    • ตอบคอมเมนต์หรือข้อความของลูกค้าอย่างเร็วที่สุด
    • ตั้งคำถามกับลูกค้าผ่านการโพสต์เพื่อสอบถามความคิดเห็นแบบปลายเปิด
    • ไลก์ คอมเมนต์ และแชร์โพสต์ที่ลูกค้ารีวิวแบรนด์ต่อ เพื่อแสดงการมีส่วนร่วมและยังเป็นการแสดงออกว่าแบรนด์แคร์ในทุกความคิดเห็นของลูกค้า
     

3. ใช้แฮชแท็ก

  • ค้นหาคำที่กำลังเป็นที่นิยมเกี่ยวกับแบรนด์
  • สร้างแฮชแท็กประจำแบรนด์
    สร้างแฮชแท็กของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ หรือแฮชแท็กแบรนด์เพื่อสร้างคอมมูนิตี้ผู้บริโภคให้สามารถหาข้อมูลรวมถึงรีวิวของสินค้าได้ง่ายขึ้น และยังทำให้ผู้บริโภครู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับแบรนด์อีกด้วย โดยยิ่งแฮชแท็กของแบรนด์มีความเฉพาะเจาะจงมากเท่าไรก็ยิ่งดี เพราะจะช่วยสร้างการจดจำแบรนด์ได้ด้วยนั่นเอง
    การที่จะทำให้แฮชแท็กของแบรนด์เข้าไปติดในคำค้นหาที่คนค้นหาเยอะ (SEO) แบรนด์ก็ต้องค้นหา Keywords ที่คนกำลังพูดถึงเยอะ เพื่อเปิดการมองเห็นให้กับโพสต์โดยแบรนด์ต้องมั่นใจว่าแฮชแท็กที่ใช้ต้องเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่โพสต์ ไม่เช่นนั้นโพสต์เหล่านั้นจะจัดเป็น Spam ที่สร้างความรำคาญทันที แต่หากแบรนด์ใช้แฮชแท็กได้เหมาะสม มันจะเป็นหนึ่งวิธีในการเพิ่มลูกค้าใหม่อีกด้วย
     

4. Collab กับแบรนด์อื่น

  • หาพาร์ตเนอร์จากแบรนด์ที่มีกลุ่มเป้าหมายร่วมกัน
  • จัดกิจกรรม Giveaways หรือทำ Live Events
    การมีพาร์ตเนอร์ก็เป็นอีกทางที่จะขยายกลุ่มเป้าหมาย และเพิ่มการมองเห็นในสื่อโซเชียลมีเดีย แถมยังเป็นการสร้างกิมมิคใหม่ ๆ ให้แบรนด์ของคุณและแบรนด์พาร์ตเนอร์ของคุณให้น่าสนใจยิ่งขึ้น
  1. เลือกช่วงเวลาโพสต์ให้เหมาะสม
  • แพลตฟอร์มต่าง ช่วงเวลาที่คน Engage ก็ต่าง
  • แบรนด์ควรเลือกช่วงเวลาให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย
    ในปัจจุบัน โซเชียลมีหลากหลายแพลตฟอร์ม ทำให้ความหลากหลายของประชากรในการใช้งานตามมา ดังนั้นแบรนด์ก็ควรจะรู้ว่าช่วงเวลาใดที่ผู้คนจะเล่นโซเชียลมีเดียใดมากที่สุด ซึ่งในส่วนนี้จะช่วยให้คนเข้าถึงโพสต์ต่าง ๆ ของแบรนด์ได้มากขึ้น 
    จากการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ใช้งานบน Social Media ต่าง ๆ ที่รวบรวมโดย Giraffeesocialmedia  ปี 2023 สามารถสรุปช่วงเวลาที่เหมาะสมในการโพสต์ในแต่ละแพลตฟอร์มดังนั้น
    • Instagram: 
  • วันที่ควรโพสต์คือ วันอังคาร,  วันพุธ และ วันศุกร์ (วันและเวลาที่ไม่ควรโพสต์ คือ วันหยุดสุดสัปดาห์ที่คนให้ความสนใจกับกิจกรรมอื่น ๆ แทน)-ช่วงเวลา : ช่วงเช้า 9.00 – 9.30 น. และ ช่วงค่ำ 20.00 น. 
    • Facebook: 
  • วันที่ควรโพสต์คือ วันจันทร์,  วันพุธ และ วันศุกร์ (วันและเวลาที่ไม่ควรโพสต์บน Facebook จะคล้ายกับบน Instagram คือวันหยุดสุดสัปดาห์ที่คนให้ความสนใจกับกิจกรรมอื่น ๆ แทน)
  • ช่วงเวลา : ช่วงเช้า 7.00 น. และ ตอนเย็น 15.15 – 19.00 น. 
    • TikTok: 
  • วันที่ควรโพสต์คือ วันจันทร์, วันอังคาร และ วันศุกร์
  • ช่วงเวลา : ช่วงเช้า 10.00 น. และช่วงค่ำ 20.00 – 23.00 น. 
    • Twitter: แพลตฟอร์มที่โดดเด่นในการพูดคุยแบบ Rael Time ดังนั้นหากมีโพสต์ที่เหมาะสมในช่วงเทรนด์นั้น ๆ ก็สามารถโพสต์ได้ทันที แต่ช่วงเวลาที่ดีจากการวิเคราะห์ คือ
  • วันที่ควรโพสต์คือ วันพุธ, วันพฤหัส และ วันศุกร์
  • ช่วงเวลา : ช่วงเช้า 8.30 – 9.23 น. และช่วงสาย 10.00 น.
    (ขอบคุณข้อมูลจาก: Insight Era )
     
    ดูแต่เวลาโพสต์ก็ไม่ได้อีกนนะคะ แบรนด์ต้องรู้ด้วยว่ากลุ่มเป้าหมายของเราใช้แพลตฟอร์มไหนเป็นหลัก

โดยข้อมูลจาก Brand Buffet ระบุไว้ว่า

• Baby Boomer (อายุ 58-76 ปี) ใช้ LINE, Youtube และ Facebook 
• Gen X (อายุ 42-57 ปี) ใช้ Facebook, YouTube และ Line เป็นหลัก และเริ่มใช้ TikTok
• Gen Y (อายุ 26-41 ปี) ใช้ Facebook, YouTube, Line และ TikTok 
• Gen Z (อายุ 12-25 ปี) ใช้  Facebook, YouTube, Instagram และ TikTok
• Gen Alpha (อายุน้อยกว่า 12 ปี) ใช้ Facebook, YouTube, Line และ TikTok เป็นหลัก (ขอขอบคุณข้อมูลจาก: Brand Buffet)

โดยช่วงเวลาเหล่านี้เป็นเพียงไกด์นำทางคร่าว ๆ ให้แบรนด์เท่านั้น หากแบรนด์ต้องการการวิเคราะห์พฤติกรรมการเล่นโซเชียลของผู้บริโภคเป้าหมายให้ลึกขึ้น ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นตัวช่วยได้ ซึ่งนั่นก็คือ Social Listening Tools ที่ถูกจัดอยู่ในเทคโนโลยี MarTech Tools ยกตัวอย่างเช่น ฟีเจอร์ “Best Time To Post” จากเครื่องมือ “DOM : Social Listening & Social Analytics Tool” ของบริษัท Insight Era
 

  1. ส่งต่อเรื่องราวที่มีประโยชน์ต่อลูกค้า
  • สร้างปฏิทินการลงคอนเทนต์อย่างเป็นระบบ
  • ใช้เครื่องมือในการช่วยสร้างคอนเทนต์ให้น่าสนใจ
    การที่แบรนด์ของคุณสามารถส่งต่อความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ในประเด็นสังคม สุขภาพ ความสวยความงาม แรงบันดาลใจ หรือจะเป็นประเด็นอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ของคุณ เพื่อเป็นการ Keep ลูกค้าเก่าไว้แถมยังช่วยดึงดูดลูกค้าใหม่เข้ามาด้วยนะคะ
     

7. โปรโมตแบรนด์ด้วย Influencer 

  • เลือก Influencer ที่เหมาะสมกับแบรนด์
  • สร้างความเข้าใจและข้อตกลงร่วมกันก่อนเริ่มงาน
    สมัยนี้แบรนด์ไหน ๆ ก็ต่างหา Influencer มาโปรโมตสินค้าของตนเองไม่ว่าจะเป็น ผ่านการรีวิวหรือทำเป็น Ads โฆษณาก็ตาม ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่แบรนด์ควรคำนึงถึงในการเลือก Influencer เลยคือการหา Influencer ที่มีไลฟ์สไตล์ที่เหมาะกับภาพลักษณ์โดยรวมและผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ เนื่องจากสิ่งนี้จะสร้างความน่าชื่อถือของทั้งสินค้าและทั้งภาพรวมของแบรนด์ และการใช้คนที่มีชื่อเสียงก็ทำให้เกิดการพูดถึงผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เป็นวงกว้างอีกด้วย 
    ซึ่งแบรนด์ก็สามารถหา Influencer ที่เหมาะสมได้จากแพลตฟอร์มโซชียลมีเดียต่าง ๆ โดยตรงหรือจะใช้แพลตฟอร์มที่เป็นแหล่งรวบรวม Influencer ไม่ว่าจะเป็น Pickle, Tellscore, Zocial Eye, Kolify, Hype Auditor และ Phlanx เป็นต้น 
    เมื่อหา Influencer ที่โดนใจได้แล้วแบรนด์ก็ควรที่จะทำสัญญาหรือสร้างข้อตกลงที่ชัดเจนกับ Influencer เพื่อให้เกิดความชัดเจนระหว่างการทำงานและเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในภายหลัง 
    และสิ่งหนึ่งที่แบรนด์ควรจะตระหนักไว้เสมอคือ การเลือก Influencer ที่เหมาะสมกับแบรนด์จริง ๆ และการรีวิวผลิตภัณฑ์อย่างจริงใจ เพื่อทำให้แบรนด์เติบโตอย่างยั่งยืน
     

8. ซื้อพื้นที่โฆษณาอย่างชาญฉลาด 

  • วางแผนจุดประสงค์และงบในการโฆษณาให้ชัดเจน
  • ทดลองทำโพสต์ให้หลากหลาย
    การเวลาผ่านไปการลงโฆษณาก็ไม่ได้มีแค่เพียงในโทรทัศน์อย่างเดียวแล้วแต่เราสามารถเห็นโฆษณาจากแบรนด์ต่าง ๆ จากทุกที่ที่ไป รวมถึงทุกแอปในโทรศัพท์ที่เราเล่นอยู่ทุกวัน อย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนเลยคือโฆษณาตามสื่อโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook, Instagram และ Twitter 
    การที่แบรนด์จะเลือกแพลตฟอร์มที่จะใช้ลงโฆษณา ก็ต้องเกิดจากการหาข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายและความคุ้มค่าในการซื้อสื่อโฆษณามาอย่างดี เพื่อให้เงินที่เสียไปคุ้มค่ากับจำนวนของผู้คนที่จะเห็นโฆษณาและนำไปสู่ยอดขายที่เพิ่มขึ้นของแบรนด์ในที่สุด โดยวิธีที่จะได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจก็คือ 
    • การตั้งวัตถุประสงค์ในการโฆษณาที่ชัดเจน เช่น ต้องการเพิ่มการรับรู้ของผู้บริโภคต่อแบรนด์ (Brand Awareness)  หรือ ต้องการเพิ่มยอดขาย 
    • งบประมาณ โดยการใช้เครื่องมือวัดอย่าง CPC หรือ Cost-per-click และ CPM หรือ Cost per thousand impressions เป็นต้น 
    อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้แบรนด์รู้ว่า การลงโฆษณาในรูปแบบใดได้ Engagement เยอะที่สุด คือการทดลองลงโฆษณาให้หลายรูปแบบในหลายแพลตฟอร์ม แต่ในแต่ละแพลตฟอร์มที่เลือกใช้นั้น แบรนด์ก็ต้องหาข้อมูลมาดีแล้วว่าเป็นที่ที่กลุ่มเป้าหมายใช้งานเยอะ 

9. เพิ่มการสร้าง Branding ผ่าน Profile Bio และ Links 

  • ใส่ Keywords ที่เชื่อมโยงถึงแบรนด์ในหน้า Profile
  • อัปเดต Links ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์
    หน้า Profile ในสื่อโซเชียลมีเดียของแบรนด์ก็เหมือนเป็นพนักงานต้อนรับของโรงแรมที่เป็นด่านแรกในการสร้างความประทับใจให้กับแขกที่มาใช้บริการ โดยวิธีที่จะทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงเว็บไซต์หรือรายละเอียดสินค้าทั้งหมดในแบรนด์ได้อย่างรวดเร็วก็คือการแนบลิงก์ของเว็บไซต์แบรนด์เอาไว้ในหน้า Profile ในแอคเคาต์โซเชียลมีเดียของแบรนด์  
    นอกจากนี้ เรื่องของ Keywords ก็สำคัญต่อการสร้างการรับรู้ ดังนั้นแบรนด์ก็ควรที่จะใส่ Keywords ที่สามารถเชื่อมไปสู่สินค้าในร้านเพื่อเป็นการเปิดการมองเห็นให้ลูกค้าเห็นสินค้าของแบรนด์ง่ายขึ้น 

10. ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือการตรวจวัดผล

  • ตรวจสอบ KPIs เป็นประจำทุกเดือน
  • ค้นหาและทดลองใช้กลวิธีใหม่ ๆ ในการโปรโมตแบรนด์อยู่เสมอ
    การตรวจสอบ KPIs คือการวัดยอดผู้ติดตาม ยอด Engagement และยอดอัตราการคลิกต่อจำนวนการมองเห็น หรือที่เรียกว่า Click Through  Rate