วันอังคาร, 3 ธันวาคม 2567

วิธีการแบ่งพาทิชั่นฮาร์ดดิสก์ ใน Windows 10 และ Windows 11

22 ก.ย. 2023
1327

*ข้อควรระวัง! ควรทำก่อนที่ท่านจะติดตั้งวินโดว์ หรือ ลงโปรแกรม ซึ่งการแบ่งพาทิชั่นในขณะที่มีข้อมูลอยู่ เสี่ยงต่อการทำให้ข้อมูลหายได้

ขั้นตอนวิธีการแบ่งพาทิชั่นฮาร์ดดิสก์ในระบบปฏิบัติการวินโดว์

  1. ถ้าเครื่องของท่านใช้ windows 10 ให้ท่าน คลิกขวาที่ไอคอน This Pc จากนั้นเลือกที่เมนู Manage
  2. ถ้าเป็นเครื่องที่ใช้ windows 11 ให้ท่าน คลิกขวาที่ไอคอน Start จากนั้นเลือกที่เมนู Disk Management
Windows 10 คลิกขวาที่ This PC เลือก Manage
ในระบบปฏิบัติการ Windows 10 เมื่อคลิกที่ Manage แล้วให้ท่านเข้ามาเลือกที่หัวข้อ Disk Manament
  1. จากนั้นท่านจะเข้าสู่หน้าจอของเครื่องมือ Disk Management
  2. เลือกพาทิชั่นที่มีพื้นที่เก็บข้อมูลเหลือเพียงพอ เพื่อจะนำไปแบ่งเป็นพาทิชั่นใหม่ ตัวอย่างนี้จะขอแบ่งพื้นที่จาก ไดร์ฟ D ไปสร้างพาทิชั่นใหม่
  1. ให้ทำการคลิกขวาบนไดร์ฟที่เราต้องการจะขอแบ่งพื้นที่ไปสร้างเป็นพาทิชั่นใหม่ (Partition) (ตัวอย่างนี้จะขอแบ่งจาก ไดร์ฟ D: )
  2. จากนั้นเลือกที่เมนู Shrink Volume
  1. จากนั้นระบบจะให้เราเลือกว่าต้องการแบ่งพื้นที่จากไดร์ฟที่เราเลือกเท่าไหร่ โดยจะมีหน่วย MB. (1024 Mb. จะเท่ากับ 1 GB.)
  2. เมื่อเลือกแล้วว่าต้องการแบ่งพื้นที่ไปสร้างเป็นพาทิชั่นใหม่เท่าไหร่ ก็ให้คลิกที่ปุ่ม Shrink
  1. พื้นที่ข้อมูลที่เราแบ่งมาจะปรากฏขึ้น โดยจะมีข้อสถานะเป็น Unallocaled
  2. จากนั้น คลิกขวาตรงพื้นที่ข้อมูลใหม่ Unallocaled แล้วเลือก New Simple Volume
  1. จากนั้นจะปรากฏขั้นตอนการสร้างพาทิชั่นใหม่ ให้เราเลือก Next
  1. ระบุจำนวนพื้นที่ข้อมูลที่ต้องการสร้างพาทิชั่นใหม่ หรือเลือกทั้งหมดที่ระบบแสดง
  1. จากนั้นเลือก Drive letter ให้กับพาทิชั่นใหม่ (ตามตัวอย่างจะเลือกเป็น Drive E:)
  1. ระบบจะทำการ Format Partition แล้วจะให้เรากำหนดว่าต้องการไดร์ฟนั้นเป็นแบบไหน เช่น NTFS หรือ FAT32
  1. เมื่อทำการกำหนดทุกอย่างให้กับพาทิชั่นใหม่เรียบร้อยแล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม Finish เพื่อเสร็จสิ้นการสร้างไดร์ฟใหม่
  2. จากนั้นรอสักครู่ให้ระบบทำงาน ท่านก็จะได้ไดร์ฟใหม่ในทันที

หมายเหตุ : การสร้างพาทิชั่นใหม่ เหมาะสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มี พาทิชั่น เพียงพาทิชั่นเดียวเป็นอย่างยิ่ง เพราะเมื่อเราสร้างพาทิชั่นใหม่ เราก็จะมี 2 ไดร์ฟ ในเครื่องของเรา คือ Drive C: ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows และ Drive D: เพื่อเก็บข้อมูลและงานต่างๆ เผื่อว่าหาก Windows เรามีปัญหาแล้วต้องการล้างข้อมูลใหม่ ข้อมูลของเราจะได้ไม่ถูกล้างไปด้วย